このページの本文へ移動

植物防疫所

メニュー

คำถามที่พบบ่อย

Q1
การตรวจพืชเพื่อส่งออกดำเนินการอย่างไร
Q2
รับการตรวจพืชเพื่อส่งออกได้ที่ไหน
Q3
พืชเพื่อส่งออกจะถูกตรวจทั้งหมดหรือไม่
Q4
ต้องใช้เวลาในการตรวจพืชเพื่อส่งออกนานเท่าไร
Q5
ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตรวจสอบเพื่อส่งออกหรือไม่
Q6
ถ้าส่งออกพืชโดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบเพื่อการส่งออกจะเป็นอย่างไร
Q7
ต้องทำอย่างไรจึงจะได้รับใบอนุญาตนำเข้า
Q8 ต้องทำอย่างไรในการที่จะนำดอกไม้หรือผลไม้ติดตัวไปในการเดินทางไปต่างประเทศ
Q9 สามารถส่งพืชไปทางไปรษณ๊ย์ระหว่างประเทศหรือใช้บริการส่งวัสดุระหว่างประเทศหรือไม่
Q10 ควรทำอย่างไรเมื่อต้องการส่งเมล็ดหรือต้นอ่อนของพืชไปให้คนรู้จักในต่างประเทศ
Q11
การตรวจบนพื้นที่เพาะปลูกดำเนินการอย่างไร
Q12 พืชชนิดใดบ้างที่จำเป็นต้องมีการตรวจบนพื้นที่เพาะปลูก
Q13 กรณีที่จะนำดอกไม้แห้งไปต่างประเทศจำเป็นต้องผ่านการตรวจหรือไม่
Q14 สามารถส่งออกบอนไซต้นสนห้าใบได้หรือไม่
Q15 กรณีการส่งออกต้นอ่อนของกระบองเพชรและกล้วยไม้ จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบหรือไม่
Q16 การณีการส่งออกสาหร่ายทะเล จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบหรือไม่
Q17 มีกฎระเบียบควบคุมอื่นที่นอกเหนือจากการกักกันพืช สำหรับการส่งออกพืชไปต่างประเทศหรือไม่
 
 
Q1 การตรวจพืชเพื่อส่งออกดำเนินการอย่างไร 
A กรณีที่จะส่งออกพืชไปต่างประเทศจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายกักกันพืชที่ประเทศนำเข้ากำหนดไว้ โดยตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ พืชที่จะส่งออกนั้นเป็นพืชต้องห้ามของประเทศนำเข้าหรือไม่ พืชนั้นจะต้องถูกตรวจเป็นกรณีพิเศษจากประเทศนำเข้าหรือไม่ กรณีที่ประเทศนำเข้าเป็นประเทศที่กำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าผู้ส่งออกมีใบอนุญาตนั้นหรือยัง ส่วนประเทศนำเข้าจะทำการตรวจพืชที่เข้าข่ายต้องกักกันในหัวข้อต่าง ๆ คือตรวจดูว่ามีโรคพืชหรือแมลงที่เป็นศัตรูพืชหรือไม่ มีปรสิตติดอยู่หรือไม่เป็นต้น พืชที่เข้าข่ายต้องตรวจบนพื้นที่เพาะปลูกหรือเข้าข่ายเงื่อนไขการกักกันพืชกรณีพิเศษ อาจจำเป็นต้องใช้เวลาตรวจยาวนาน สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานกักกันพืชใกล้ที่สุด หรือสถานกักกันพืชที่จะไปรับการตรวจ
 
 
Q2 รับการตรวจพืชเพื่อส่งออกได้ที่ไหน
A สามารถรับการตรวจพืชเพื่อส่งออกได้ที่สถานกักกันพืชทั่วประเทศก่อนวันส่งออกหรือในวันส่งออก โดยขอนัดล่วงหน้าไปยังสถานกักกันพืชที่จะไปรับการตรวจ บางกรณีอาจรับคำร้องขอให้ตรวจเพื่อส่งออกไม่ได้เนื่องมาจากเงื่อนไขของฝ่ายประเทศนำเข้า (กรณีที่เป็นพืชห้ามนำเข้าหรือพืชที่จำเป็นต้องตรวจเพื่อส่งออกกรณีพิเศษ เช่น ต้องตรวจบนพื้นที่เพาะปลูก ฯลฯ, กรณีที่ห้ามนำเข้า, กรณีที่ไม่มีใบอนุญาตตามข้อกำหนดที่ต้องได้รับอนุญาตนำเข้าก่อนจึงจะนำเข้าได้) ก่อนส่งออกควรสอบถามเกี่ยวกับเงื่อนไขการกักกันพืชของประเทศนำเข้าที่สถานกักกันพืช, หน่วยงานการกักกันพืชของประเทศนำเข้า หรือสถานทูตของประเทศนำเข้าที่ประจำอยู่ในญี่ปุ่น เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ :https://www.mofa.go.jp/about/emb_cons/protocol/index.html
 สถานกักกันพืช เครื่องมือค้นหาข้อมูลอย่างง่ายสำหรับนักท่องเที่ยว : https://www.maff.go.jp/pps/j/introduction/thai_exp.html#chart
 
 
Q3 พืชเพื่อส่งออกจะถูกตรวจทั้งหมดหรือไม่
A หลังตรวจพืชที่จะส่งออกของทั้งหมดโดยรวมแล้ว เจ้าหน้าที่จะสุ่มตรวจจำนวนหนึ่งตามชนิดและปริมาณของพืช อนึ่ง อาจมีกรณีที่ต้องเปิดห่อหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อตรวจสอบ และบางกรณีอาจต้องทำลายพืช (ผ่าผลไม้ ฯลฯ)ที่สงสัยว่าจะมีโรคพืชหรือแมลงศัตรูพืช จึงขอให้เข้าใจไว้ในเบื้องต้น
 
 
Q4 ต้องใช้เวลาในการตรวจพืชเพื่อส่งออกนานเท่าไร
A กรณีที่ไม่ได้รับคำร้องขอเป็นพิเศษจากประเทศนำเข้าให้ตรวจสอบบนพื้นที่เพาะปลูกหรือตรวจสอบภายในสถานที่ ปกติจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงตั้งแต่กรอกใบคำร้อง, ตรวจพืชเพื่อส่งออก ไปจนถึงออกใบรับรอง แต่ถ้ามีการนัดตรวจล่วงหน้าและยื่นคำร้อง หากไม่มีปัญหาอะไรก็จะเสร็จเรียบร้อยภายในราว 15 นาที จึงกรุณานัดตรวจล่วงหน้า
 
 
Q5 ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตรวจสอบเพื่อส่งออกหรือไม่
A สำหรับญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียม
 
 
Q6 ถ้าส่งออกพืชโดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบเพื่อการส่งออกจะเป็นอย่างไร
A ถ้าส่งพืชออกไปโดยไม่ได้รับการตรวจก่อน พืชนั้นอาจถูกกำจัดทิ้งตามกฎหมายของประเทศนำเข้าเพราะเป็นของห้ามนำเข้าประเทศนั้น หรือเพราะดำเนินพิธีการไม่ครบถ้วนตามระเบียบที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นกฎหมายกักกันพืชยังกำหนดไว้ว่า กรณีที่ประเทศนำเข้ากำหนดให้ต้องตรวจพืชก่อนส่งออกนั้น เมื่อตรวจแล้วต้องได้รับการรับรองว่ามีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดก่อน จึงจะส่งออกไปยังประเทศนั้นได้ เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าต้องรับการตรวจเพื่อกักกันพืชหรือไม่นั้น ติดต่อสอบถามได้ที่สถานกักกันพืชใกล้ที่สุด, สถานทูตของประเทศนำเข้าที่ประจำอยู่ในญี่ปุ่น หรือ หน่วยงานกักกันพืชของประเทศนำเข้าโดยตรง
 
 
Q7 ต้องทำอย่างไรจึงจะได้รับใบอนุญาตนำเข้า
A สถานกักกันพืชไม่มีการออกใบอนุญาต ต้องขอจากหน่วยงานกักกันพืชของประเทศนำเข้าด้วยตนเองหรือผ่านทางผู้นำเข้า ฯลฯ ในประเทศนั้น
 
 
Q8 ต้องทำอย่างไรในการที่จะนำดอกไม้หรือผลไม้ติดตัวไปในการเดินทางไปต่างประเทศ
A พืชบางชนิดสามารถนำออกไปได้ถ้าผ่านการตรวจเพื่อส่งออก บางชนิดเป็นพืชต้องห้ามของประเทศนำเข้า หรือบางชนิดต้องขออนุญาตนำเข้า (มีใบอนุญาตนำเข้า)จากประเทศนำเข้าก่อนจึงจะนำไปได้ ควรสอบถามเงื่อนไขการกักกันพืชก่อนที่สถานกักกันพืชใกล้ที่สุด, หน่วยงานกักกันพืชของประเทศนำเข้า หรือสถานทูตของประเทศนำเข้าที่ประจำอยู่ในญี่ปุ่น อนึ่ง สามารถดูเงื่อนไขการกักกันพืชได้ด้วย ""เครื่องมือค้นหาข้อมูลอย่างง่ายสำหรับนักท่องเที่ยว"""
 
 
Q9 สามารถส่งพืชไปทางไปรษณ๊ย์ระหว่างประเทศหรือใช้บริการส่งวัสดุระหว่างประเทศหรือไม่
A แต่ละประเทศมีข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการนำเข้าพืช ดังนั้นบางกรณีจึงไม่สามารถส่งพืชทางไปรษณีย์หรือใช้บริการส่งวัสดุระหว่างประเทศ ควรสอบถามสถานกักกันพืชก่อนว่าประเทศนำเข้ามีข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ กรณีที่จำเป็นต้องตรวจพืชก่อนส่งออกให้นำพืชไปรับการตรวจที่สถานกักกันพืช อนึ่ง ผู้ให้บริการส่งวัสดุระหว่างประเทศบางรายไม่รับส่งพืชที่จำเป็นต้องตรวจ จึงควรติดต่อสอบถามผู้ให้บริการก่อน
 
 
Q10 ควรทำอย่างไรเมื่อต้องการส่งเมล็ดหรือต้นอ่อนของพืชไปให้คนรู้จักในต่างประเทศ
A พืชบางชนิดเป็นพืชต้องห้ามของประเทศนำเข้า บางชนิดต้องขออนุญาตนำเข้า (มีใบอนุญาตนำเข้า) จากประเทศนำเข้าก่อนจึงจะนำไปได้ บางชนิดต้องทำการตรวจบนพื้นที่เพาะปลูก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเทศนำเข้าและชนิดของพืช นอกจากนั้นประเทศส่วนใหญ่ห้ามนำเข้าดิน จึงยากที่จะส่งต้นอ่อนของพืชที่มีดินติดไปด้วย ก่อนส่งควรสอบถามเกี่ยวกับเงื่อนไขการกักกันพืชที่สถานกักกันพืชใกล้ที่สุด, หน่วยงานกักกันพืชของประเทศนำเข้า หรือสถานทูตของประเทศนำเข้าที่ประจำอยู่ในญี่ปุ่น อนึ่ง สามารถดูเงื่อนไขการกักกันพืชได้ด้วย ""เครื่องมือค้นหาข้อมูลอย่างง่ายสำหรับนักท่องเที่ยว"" หรือ ""ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขการนำเข้าและส่งออก"" นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดการนำพืชชนิดที่ขึ้นทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชตามกฎหมายเมล็ดและต้นอ่อนพืชออกไปต่างประเทศด้วย ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง
http://www.hinshu2.maff.go.jp/en/en_top.html


 
Q11 การตรวจบนพื้นที่เพาะปลูกดำเนินการอย่างไร
A เจ้าหน้าที่กักกันพืชจะไปตรวจพื้นที่ในช่วงที่เกิดโรคพืชหรือศัตรูพืชชนิดที่เข้าข่ายการตรวจ ส่วนวิธีตรวจ, จำนวนครั้งการตรวจ และช่วงเวลาการตรวจนั้นแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของประเทศนำเข้า, ชนิดของพืชที่จะส่งออกไป, ชนิดของโรคพืชและศัตรูพืชที่เข้าข่ายการตรวจ ควรตรวจสอบเกี่ยวกับช่วงเวลาการตรวจและอื่น ๆ เป็นการล่วงหน้ากับสถานกักกันพืชที่ดูแลพื้นที่เพาะปลูกนั้น
 
 
Q12 พืชชนิดใดบ้างที่จำเป็นต้องมีการตรวจบนพื้นที่เพาะปลูก
A พืชที่ต้องทำการตรวจบนพื้นที่เพาะปลูกก่อนส่ง ได้แก่ เมล็ดพืชวงศ์ผักกาด (Brassicaceae) ไปยังอินเดีย, ลูกแพร์ไปยังออสเตรเลีย, ส้มอุนชู (Citrus unshiu) ไปยังสหรัฐและนิวซีแลนด์ เป็นต้น ระยะนี้มีประเทศนำเข้าที่กำหนดให้ต้องตรวจบนพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น จึงควรสอบถามสถานกักกันพืชก่อน


 
Q13 กรณีที่จะนำดอกไม้แห้งไปต่างประเทศจำเป็นต้องผ่านการตรวจหรือไม่
A ประเทศนำเข้าบางประเทศกำหนดให้ต้องตรวจสอบเพื่อส่งออก แต่บางประเทศสามารถนำเข้าได้โดยไม่ต้องตรวจสอบเพื่อส่งออก ดอกไม้แห้งผลิดด้วยเทคนิคระดับสูงดังนั้นบางประเทศจึงไม่กำหนดให้อยู่ในเกณฑ์ต้องกักกัน ก่อนนำออกไปควรติดต่อสอบถามสถานกักกันพืชใกล้ที่สุด, หน่วยงานกักกันพืชของประเทศนำเข้า หรือสถานทูตของประเทศนำเข้าที่ประจำอยู่ในญี่ปุ่น
 
 
Q14 สามารถส่งออกบอนไซต้นสนห้าใบได้หรือไม่
A บางประเทศให้นำเข้าได้ถ้าผ่านการตรวจสอบเพื่อส่งออก แต่บางประเทศห้ามเข้า นอกจากนั้นประเทศส่วนใหญ่ยังห้ามนำเข้าดินซึ่งทำให้บอนไซที่ปลูกในดินอยู่ในข่ายห้ามนำเข้าด้วย ควรสอบถามสถานกักกันพืชใกล้ที่สุด, หน่วยงานกักกันพืชของประเทศนำเข้า หรือสถานทูตของประเทศนำเข้าที่ประจำอยู่ในญี่ปุ่น



 
Q15 กรณีการส่งออกต้นอ่อนของกระบองเพชรและกล้วยไม้ จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบหรือไม่
A เกณฑ์การตรวจสอบต่างกันตามประเทศส่งออก กรุณาสอบถามสถานกักกันพืชใกล้ที่สุด, หน่วยงานกักกันพืชของประเทศนำเข้า หรือสถานทูตของประเทศนำเข้าที่ประจำอยู่ในญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังมีการควบคุมการนำเข้ากระบองเพชรและกล้วยไม้ ฯลฯ ตามอนุสัญญาวอชิงตันด้วย ตรวจสอบรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม https://www.meti.go.jp/english/policy/external_economy/CITES/about_cites.html
 
 
Q16 การณีการส่งออกสาหร่ายทะเล จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบหรือไม่
A บางประเทศกำหนดให้สาหร่ายทะเลอยู่ในเกณฑ์การกักกันพืช กรุณาสอบถามสถานกักกันพืชใกล้ที่สุด, หน่วยงานกักกันพืชของประเทศนำเข้า หรือสถานทูตของประเทศนำเข้าที่ประจำอยู่ในญี่ปุ่น



Q17 มีกฎระเบียบควบคุมอื่นที่นอกเหนือจากการกักกันพืช สำหรับการส่งออกพืชไปต่างประเทศหรือไม่
A มีกฎระเบียบควบคุมอื่น ๆ อย่างเช่น 
ควบคุมพืชพันธุ์ใหม่และสิทธิของผู้พัฒนาพันธุ์ มีกฎระเบียบควบคุมการนำพืชชนิดที่ขึ้นทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชตามกฎหมายเมล็ดและต้นอ่อนพืชออกไปต่างประเทศ
http://www.hinshu2.maff.go.jp/en/en_top.html
เกี่ยวกับอุบัติเหตุโรงผลิตไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิของบริษัทพลังไฟฟ้าโตเกียว บางประเทศมีการควบคุมด้านสารกัมมันตรังสี 
https://www.maff.go.jp/e/export/reference.html
เกี่ยวกับ CITES (อนุสัญญาวอชิงตัน) พืชบางชนิดอยู่ในเกณฑ์ควบคุมการซื้อขายตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายในการควบคุมการค้าสัตว์ป่าและ พรรณพืชระหว่างประเทศที่น่าเกรงว่าจะสูญพันธุ์ (อนุสัญญาวอชิงตัน)
https://www.meti.go.jp/english/policy/external_economy/CITES/about_cites.html